เรื่องที่ 1   itle
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลกในเขตพื้นที่อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
Title Alternative
Motivations in the Personnel Staff’s Work Performance of theSub-district Administrative Organizations in the Zone Sri Somdej District, Roi-etกProvince.

Address: สถานบัณฑิตศึกษา
Organization : มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
Classification :.DDC: 371.1
Description
Abstract: กการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตพื้นที่อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด และ2) ศึกษาข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตพื้นที่อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตพื้นที่อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 217 คน ได้มาโดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่ และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มตัวอย่าง แบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กกกกกกกผลการศึกษาพบว่า กกกกกกก1. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล เขตพื้นที่อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.27, S.D.= 0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แรงจูงใจภายนอกมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( = 4.37, S.D.= 0.52) รองลงมาคือ แรงจูงใจภายในมีค่าเฉลี่ย ( = 4.17, S.D.= 0.34) กกกกกกก2. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล เขตพื้นที่อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัด ที่สำคัญมี คือ ควรส่งเสริมให้มีการยอมรับผลการปฏิบัติหน้าที่จากผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชาควรให้ความสนใจความเป็นอยู่ของบุคลากร และควรส่งเสริมให้บุคลากรอุทิศแรงกายแรงใจให้กับงานที่ทำ อย่างเต็มที่
Abstract: กกกThis study aimed to investigate: 1) the motivation levels in the personnel staff’s work performance of Sub-district Administrative Organizations in the zone of Srisomdej District, Roi-et Province, and 2) the suggestions on implementing the motivations in the personnel staff’s work performance of Sub-district Administrative Organizations in the zone of Srisomdej District, Roi-et Province. The samples were 217 personnel staff working in Sub-district Administrative Organizations in the zone of Srisomdej District, Roi-et Province, derived by the number fixation of Krejcie and Morgan’s packaged table, then selected by the simple random sampling using the lottery technique. The instrument in this study was the five rating-scaled questionnaires with the reliability valued .90. The statistics for the data analysis included the frequency, percentage, mean and standard deviation. กกกกกกกThe findings of the study revealed that : กกกกกกก1. The motivation levels in in the personnel staff’s work performance of Sub-district Administrative Organizations in the zone of Srisomdej District, Roi-et Province as a whole revealed in the much level ( = 4.27, S.D.= 0.43). When looking into each aspect, it revealed that the aspect with the highest mean scores was the extrinsic motivation ( = 4.37, S.D.= 0.52) the second rank was the intrinsic motivation ( = 4.17, S.D.= 0.34). กกกกกกก2. The suggestions on implementing the motivations in the personnel staff’s work performance of Sub-district Administrative Organizations in the zone of Srisomdej District, Roi-et Province included that; there should have had the acceptance in the duty performances from the authorities and colleagues, the authorities should have attend in the personnel’s welfares, and promoted the personnel to fully devoted fully the strengths and minds in working.
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.สำนักวิทยบริการ
Address: ชัยภูมิ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date
Created: 2011
Modified: 2554-06-28
Issued: 2554-06-28
Type
งานวิจัย/Research report
Format
application/pdf
Source
CallNumber: พ 654 ร
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
RightsAccess:
................................................................................................................................................................
เรื่องที่ 2   Title
แรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Subject
Classification :.DDC: 351.1
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบระดับแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้/เดือน และตำแหน่งงาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานประจำในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย ข้าราชการครู อาจารย์ประจำ ตามสัญญาจ้าง ข้าราชการพลเรือน ลูกจ้างประจำ และพนักงานตามสัญญาจ้าง จำนวน 385 คน การศึกษาครั้งนี้คำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามวัดแรงจูงใจในการทำงาน จำนวน 50 ข้อ และแบบสอบถามได้รับการตอบรับกลับคืนมาครบ 100 % การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS+ เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (ANOVA) และการทดสอบแบบ Scheffe' ผลการวิจัยปรากฎ ดังนี้ 1. แรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในหน่วยงาน ด้านการควบคุมบังคับบัญชา ด้านการยอมรับนับถือ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความรับผิดชอบ-ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน และด้านรายได้และสวัสดิการ ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำแนกตามเพศ เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วแรงจูงใจในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หรือไม่แตกต่างกัน 3. การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำแนกตามอายุ เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วแรงจูงใจในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หรือไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านความมั่นคงในงาน และด้านเงินเดือนและสวัสดิการ พบว่า ผู้ที่มีอายุ 51-60 ปี มีระดับแรงจูงใจในการทำงานมากกว่าผู้ที่มีช่วงอายุอื่น ๆ ส่วนด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน พบว่า ผู้ที่มีอายุ 31-40 ปี มีระดับแรงจูงใจในการทำงานมากกว่าผู้ที่มีอายุอื่น ๆ 4. การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำแนกตามระดับการศึกษา เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วแรงจูงใจในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หรือไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านความสำเร็จในการทำงานซึ่งพบว่า ผู้ที่ระดับการศึกษาอนุปริญญา มีระดับแรงจูงใจในการทำงานมากกว่าระดับการศึกษาอื่น ๆ 5. การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำแนกตามสถานภาพ เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า ผู้ที่มีสถานภาพสมรส มีระดับแรงจูงใจในการทำงานมากกว่าผู้ที่มีสถานภาพโสด ในด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านความรับผิดชอบ/ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านรายได้และสวัสดิการ และด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน 6. การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำแนกตามรายได้ต่อเดือน เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ด้านรายได้และสวัสดิการ โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป มีระดับแรงจูงใจในการทำงานสูงกว่าผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำ 7. การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำแนกตามตำแหน่งงาน เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ด้านความสำเร็จในการทำงาน พบว่า มีตำแหน่งงานเป็นข่าราชการพลเรือน มีระดับแรงจูงใจในการทำงานสูง ด้านความรับผิดชอบ/ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านความก้าวหน้าในงาน พบว่า ผู้ที่มีตำแหน่งเป็นข้าราชการพลเรือน มีระดับแรงจูงใจในการทำงานสูงกว่าผู้ที่มีตำแหน่งงานพนังงานตามสัญญาจ้าง ลูกจ้างประจำ และอาจารย์ประจำตามสัญญาจ้าง ส่วนตำแหน่งอาจารย์ประจำ มีระดับแรงจูงใจในการทำงานสูงกว่า ผู้ที่มีตำแหน่งงานพนักงานตามสัญญาจ้างและอาจารย์ประจำตามสัญญาจ้าง ด้านรายได้และสวัสดิการ พบว่า ผู้ที่มีตำแหน่งงานเป็นอาจารย์ประจำ มีระดับแรงจูงใจในการทำงานสูงกว่าตำแหน่งอื่น ๆ และด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน พบว่า ผู้ที่มีตำแหน่งงานเป็นข้าราชการพลเรือนมีระดับแรงจูงใจในการทำงานสูงกว่าตำแหน่งอื่น ๆ
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: สุราษฎร์ธานี
Email: tippawan@sru.ac.th
Date
Created: 2549-08-03
Type
งานวิจัย/Research report
Format
application/pdf
Source
CallNumber: วจ.351.1 ส286ร
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
RightsAccess:
ใช้เวลา
0.046961 วินาที
..................................................................................................................................................................
เรื่องที่ 3  Title
รายงานการวิจัย ความพึงพอใจของคณาจารย์และบุคลากรในการจัดและบริหารสถาบันราชภัฏธนบุรี

Classification :.DDC: 378 ท478ร
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความพึงพอใจในการจัดและบริหารสถาบันราชภัฏธนบุรีของคณาจารย์ 4 คณะ คือ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ และบุคลากรของสถาบัน 2. เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการจัดและบริหารสถาบันราชภัฏธนบุรี ของคณาจารย์ 4 คณะ และบุคลากร 3. เพื่อสรุปและสังเคราะห์ข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการจัดและการบริหารสถาบันราชภัฏธนบุรีของคณาจารย์และบุคลากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ คณาจารย์และบุคลากรที่ปฏิบัติราชการอยู่ในสถาบันราชภัฏธนบุรี ในปี พ.ศ. 2545 จำนวน 203 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามระดับความพึงพอใจของคณาจารย์และบุคลากรในการจัดและบริหารสถาบันราชภัฏธนบุรีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 1 ฉบับ ประกอบด้วย คำถามเกี่ยวกับสถานสภาพผู้ตอบแบบสอบถามเป็นคำถามแบบ check lilt จำนวน 6 ข้อ คำถามเกี่ยวกับระดับ ความพึงพอใจในการจัดและบริหารสถาบัน แบบ rating scale จำนวน 8 ด้าน 80 ข้อ และคำถามแบบปลายเปิดเกี่ยวกับข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการจัดและบริหารสถาบันราชภัฏธนบุรี ทั้ง 8 ด้าน ได้รับข้อมูลคืนมา จำนวน 172 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 84.72 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ คำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความ แตกต่างด้วย F- test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 50 ปี ขึ้นไปมากที่สุด มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทมากที่สุด จำนวนปีที่ปฏิบัติงานมากที่สุดคือ 5-10 ปี สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มากที่สุด และดำรงตำแหน่งอาจารย์มากที่สุด 2. ระดับความพึงพอใจในการจัดและบริหารสถาบันของคณาจารย์ 4 คณะ และบุคลากรเป็นรายด้าน และรายข้อ พบว่า (2.1) ระดับความพึงพอใจเป็นรายด้าน ทั้ง 8 ด้าน คณาจารย์ 4 คณะ และบุคลากรมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ทั้ง 8 ด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ การสร้างองค์ความรู้ การทนุบำรุงศาสนาและศิลปวัฒนธรรม การกำหนดนโยบายและการวางแผน การส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ การผลิตบัณฑิต การบริหารแบบมีส่วนร่วม การบริการทางวิชาการแก่ชุมชนและความเป็นนานาชาติ 2.2 ระดับความพึงพอใจเป็นรายข้อ ทั้ง 8 ด้าน มีดังนี้ (1) การกำหนดนโยบายและการวางแผน ระดับความพึงพอใจสูงสุดคือ การมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน รองลงมาคือ มีนโยบายและกลยุทธ์ที่ชัดเจน ใช้เป็นทิศทางการบริหารได้ (2) การผลิตบัณฑิต ระดับความพึงพอใจสูงสุดคือ การกำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ไว้ชัดเจน รองลงมาคือ การวัดและประเมินผลมีความเหมาะสม (3) การสร้างองค์ความรู้ ระดับความพึงพอใจสูงสุดคือ การส่งเสริมให้คณาจารย์ ผลิตตำรา และเอกสารประกอบการสอน รองลงมาคือ การจัดสรรทุนวิจัยไว้อย่างเพียงพอ (4) การบริการทางวิชาการแก่ชุมชน ระดับความพึงพอใจสูงสุดคือ มีนโยบายและแผนงานด้านบริการวิชาการแก่ชุมชนตามความต้องการของชุมชน รองลงมาคือ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการสู่สังคมชุมชนอย่างต่อเนื่อง และการสนับสนุนคณาจารย์ในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน (5) การทนุบำรุงศาสนา และศิลปวัฒนธรรม ระดับความพึงพอใจสูงสุดคือ การสนับสนุนและส่งเสริมงานทนุบำรุงศาสนาและศิลปวัฒนธรรม รองลงมาคือ มีนโยบายในการทนุบำรุงศาสนา และศิลปวัฒนธรรม (6) การส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ ระดับความพึงพอใจสูงสุดคือ การให้บริการหอสมุด รองลงมาคือ การส่งเสริมการสอนคอมพิวเตอร์ทั้งภาคบังคับและไม่บังคับ (7) ความเป็นนานาชาติ ระดับความพึงพอใจสูงสุดคือ การเข้าสู่เครือข่าย Internet รองลงมาคือ ความสัมพันธ์กับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ และการแลกเปลี่ยน นักศึกษา/อาจารย์ระหว่างประเทศ (8) การบริหารแบบมีส่วนร่วม ระดับความพึงพอใจสูงสุดคือ พันธกิจของสถาบันมีความชัดเจน รองลงมาคือ คณาจารย์มีบทบาทเป็นผู้ร่วมงาน เป็นผู้ศึกษาและผู้ปฏิบัติ 3. การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของคณาจารย์ 4 คณะ และบุคลากรในการจัดและบริหารสถาบัน พบว่า 3.1 ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของคณาจารย์ทั้ง 4 คณะ และบุคลากรในด้านการกำหนดนโยบายและการวางแผน การผลิตบัณฑิต การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทนุบำรุงศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการสร้างองค์ความรู้ การส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ ความเป็นนานาชาติ และการบริหารแบบมีส่วนร่วมมีความแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.2 การเปรียบเทียบเป็นรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ พบว่า การสร้างองค์ความรู้ ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของคณาจารย์คณะครุศาสตร์ และคณะวิทยาการจัดการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของคณาจารย์คณะวิทยาการจัดการ และบุคลากรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของคณาจารย์คณะวิทยาการจัดการกับบุคลากรมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความเป็นนานาชาติ ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของคณาจารย์คณะวิทยาการจัดการกับบุคลากรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับบุคลากรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 การบริหารแบบมีส่วนร่วม ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของคณาจารย์คณะครุศาสตร์กับคณะวิทยาการจัดการมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. คณาจารย์และบุคลากรเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการจัดและบริหารสถาบัน ดังนี้ 4.1 การกำหนดนโยบายและการวางแผน อันดับแรกคือ ควรระดมความคิดจากบุคลากรทุกฝ่ายในการกำหนดนโยบาย และการวางแผน รองลงมาคือ นโยบายและแผนควรกำหนดให้ชัดเจน และควรมีการวิพากย์แผนหรือทำประวิจารณ์ก่อนนำไปจริง 4.2 การผลิตบัณฑิต อันดับแรกคือ ควรให้ความสำคัญกับคุณภาพมากกว่าปริมาณ รองลงมาคือ ควรมีระบบการคัดเลือกที่ดี และบัณฑิตของสถาบันด้อยทั้งวิชาการคุณธรรม จริยธรรม ขาดระเบียบวินัย กริยามารยาทไม่เหมาะสม 4.3 การสร้างองค์ความรู้ อันดับแรกคือ คณาจารย์มีปริมาณงานมากเกินไปทั้งการสอนและสนับสนุนการสอน ไม่มีเวลาทำผลงานทางวิชาการ รองลงมาคือ ควรส่งเสริมและให้โอกาสแก่คณาจารย์ทำวิจัย ควรกำหนดให้งานวิจัยเป็นภารกิจของคณาจารย์ด้วยและส่งเสริมให้คณาจารย์และนักศึกษาทำวิจัยร่วมกัน 4.4 การบริการทางวิชาการแก่ชุมชน อันดับแรกคือ สถาบันจัดกิจกรรมบริการทางวิชาการแก่ชุมชนน้อย ส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาบุคลากร รองลงไปคือ ควรกำหนดให้งานบริการทางวิชาการแก่ชุมชนเป็นภารกิจของคณาจารย์และนับเป็นปริมาณงาน และการให้บริการทางวิชาการชุมชน ควรตรงตามความต้องการของชุมชนด้วย 4.5 การทนุบำรุงศาสนาและศิลปวัฒนธรรม อันดับแรกคือ สถาบันดำเนินการไม่เป็นรูปธรรม นอกจากพิธีทางศาสนา รองลงมาคือ การดำเนินการทำในกลุ่มเล็กๆ ทำให้ขาความร่วมมือจากฝ่ายอื่นๆ ควรจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและสร้างสรรค์ 4.6 การส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ อันดับแรกคือ ผู้บริหารควรส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือการสร้างบรรยากาศทางวิชาการมีน้อยค่อนข้างเฉื่อย ควรสร้างแรงจูงใจให้คณาจารย์ นักศึกษามีส่วนร่วม 4.7 ความเป็นนานาชาติ อันดับแรกคือ สถาบันควรสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และได้รับการยอมรับ รองลงมาคือควรเร่งรัดพัฒนาสถาบันเพื่อก้าวเข้าสู่ระดับนานาชาติ 4.8 การบริหารแบบมีส่วนร่วม อันดับแรกคือ ควรให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการบริหารโดยเปิดเผย โดยระดมความคิดเห็นจากส่วนล่างสู่เบื้องบน รองลงมาคือ ควรรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายทั้งคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ชุมชนและผู้ปกครองเพื่อนำไปพัฒนาสถาบันให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม เพื่อความโปร่งใส ทุกฝ่ายมีความสุข และสร้างความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของสถาบัน
Publisher
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Address: กรุงเทพฯ
Email: poo_198@hotmail.com
Date
Issued: 2545
Type
งานวิจัย/Research report
Format
text/html
BibliograpyCitation : 176 หน้า : ตาราง, แผนภูมิ
Source
CallNumber: 378 ท478ร
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูลขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึงวัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1ส่วนหน้า.pdf8.66 MB982017-10-21 22:44:14
2บทที่ 1.pdf7.8 MB892017-07-31 12:26:58
3บทที่ 2 (12-25).pdf12.2 MB912017-05-27 19:16:54
4บทที่ 2 (26-39).pdf11.97 MB652017-05-27 19:17:20
5บทที่ 2 (40-53).pdf10.97 MB472017-05-27 19:17:50
6บทที่ 2 (54-67).pdf9.96 MB602017-05-27 19:18:21
7บทที่ 3.pdf2.42 MB662017-05-27 19:18:49
8บทที่ 4 (73-86).pdf8.77 MB512017-05-27 19:20:12
9บทที่ 4 (87-100).pdf9.96 MB372017-05-27 19:20:39
10บทที่ 4 (101-113).pdf8.57 MB402017-05-27 19:21:49
11บทที่ 4 (114-127).pdf8.59 MB402017-05-10 11:19:12
12บทที่ 4 (128-141).pdf8.65 MB392017-05-10 11:19:19
13บทที่ 4 (142-147).pdf4.15 MB412017-05-10 11:19:24
14บทที่ 5.pdf15.78 MB602017-05-10 11:20:15
15บรรณานุกรม, ภาคผนวก.pdf6.32 MB932017-05-10 11:20:41
ใช้เวลา
0.129781 วินาที

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ผลงานของนางสาวจรีพร พูลชัย